วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พายุ

พายุ

ในระยะนี้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังประสบกับภัยธรรมชาติทั้งพายุเฮอริเคน ในสหรัฐอเมริกา พายุไต้ฝุ่นในเอเชีย รวมถึงพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยที่เจออิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น ไซโคลน และไต้ฝุ่น ซึ่งล่าสุดพายุที่มีอิทธิพลต่อประเทศไทยในช่วงระหว่างวันที่ 26-29 ก.ย.คือพายุดอมเรย โดยเป็นพายุลูกที่ 5 ที่พัดเข้าประเทศไทย และเป็นลูกที่ 18 ที่พัดเข้าจีนในปีนี้มีความรุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี ซึ่งการเข้าถล่มของพายุแต่ละครั้งสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก

นายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่าพายุที่เกิดขึ้นนั้นมีหลากหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เมตร ไปจนถึง 1,000 กิโลเมตร ความเร็วลมของพายุบางชนิดอาจจะถึง 800 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ซึ่งจะเพิ่มความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก พายุที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ ก็มีชื่อเรียกต่างกัน ตามแต่แหล่งกำเนิด อาทิเช่น พายุใต้ ฝุ่น พายุ ไซโคลน พายุเฮอริเคน เป็นพายุชนิดเดียวกันแต่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันตามแต่แหล่งกำเนิด

สำหรับประเทศไทย พายุดอมเรย เป็นพายุลูกที่ 5 ที่พัดเข้ามา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างผิดปกติ เนื่องจากสถิติในแต่ละปี ประเทศไทยจะมีพายุ เข้ามาปีละประมาณ 2- 3 ลูกเท่านั้นและบางปีก็ไม่มีผลกระทบเลย แต่ปีนี้กลับมีพายุเข้ามาถึง 5 ลูกแล้ว อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังประสบภัยจากพายุเฮอริเคนแคทรีน่า และริต้า ก็เป็นพายุลูกที่ 17 ของปีนี้จากปกติ จะมีประมาณ 11 ลูก สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 2 แสนล้านเหรียญ ต้องใช้เวลาฟื้นฟูอีกนานหลายปีกว่าจะกลับเข้าสู่สภาพเดิม
ภาคใต้ ได้รับอิทธิพลจากพายุในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม
ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับอิทธิพลพายุในช่วงเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกันยายน
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับอิทธิพลพายุในช่วงเดือนสิงหาคม
โดยปกติ ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจาก 'พายุหมุนเขตร้อน' ในช่วงฤดูฝนตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม มากบ้างน้อยบ้างสุดแท้แต่ธรรมชาติกำหนด แต่ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงถึงระดับ 'ไต้ฝุ่น' เพราะมีเทือกเขาแถบเวียดนามและลาวเป็นกำแพงธรรมชาติสกัดไว้ ส่งผลให้กำลังลมอ่อนลงก่อนจะเคลื่อนเข้าสู่ไทย

โดยปกติ ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจาก 'พายุหมุนเขตร้อน' ในช่วงฤดูฝนตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม มากบ้างน้อยบ้างสุดแท้แต่ธรรมชาติกำหนด แต่ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงถึงระดับ 'ไต้ฝุ่น' เพราะมีเทือกเขาแถบเวียดนามและลาวเป็นกำแพงธรรมชาติสกัดไว้ ส่งผลให้กำลังลมอ่อนลงก่อนจะเคลื่อนเข้าสู่ไทย

แต่ชาวไทยที่ตั้งรกรากใกล้ฝั่งทะเลในภาคใต้คงไม่อาจลืมพายุโซนร้อน 'แฮเรียต' ซึ่งพัดถล่มเข้าไทยบริเวณแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อเดือนตุลาคมปี พ.ศ.2505 มีผู้เสียชีวิตและสูญหายจำนวนมาก พายุอีกลูกที่พัดถล่มเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2532 นั่นคือ พายุ 'เกย์' โดยพัดเข้าสู่บริเวณ จ.ชุมพร ส่งผลให้บ้านเรือน ไร่ นา ได้รับความเสียหาย มีผู้คนล้มตายและสูญหายจำนวนมากเช่นกัน ก่อนที่จะมาตื่นตระหนกกับพายุ 'หมุ่ยฟ้า' และ พายุไต้ฝุ่น 'ลินดา' ที่ถาโถมถล่มไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2540 สร้างความเสียหายมากมาย เกิดนํ้าท่วมใหญ่และมีคลื่นใหญ่ซัดฝั่งในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกอย่างหนักและล่าสุดระหว่าง 17 – 20 กันยายน 2548 พายุ วีเซนเต้ ก็ทำให้พื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนตกชุกหนาแน่น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ก่อนที่จะมาตื่นตระหนกอีกครั้งกับพายุ ดอมเรย ที่มีอิทธิพลต่อประเทศไทยระหว่างวันที่ 26-29 ก.ย.นี้
พายุที่เกิดขึ้นในบรรยากาศมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับขนาด ความรุนแรง และลักษณะของการเกิด สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

พายุหมุนเขตร้อน
เป็นพายุหมุนที่เกิดในทะเลหรือมหาสมุทรในโซนร้อน โดยมีชื่อเรียกตามแหล่งที่เกิด เช่น พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อนพายุไต้ฝุ่นเป็นพายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกหรือทะเลจีนใต้
พายุเฮอริเคนเป็นพายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติก และพายุไซโคลนเป็นพายุที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย พายุหมุนเหล่านี้มีความแรงมาก โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุ 50 กม./ชม. ขึ้นไป และสามารถมีความเร็วลมรอบจุดศูนย์กลางพายุได้มากกว่า 250 กม./ชม. สำหรับพายุไต้ฝุ่น พายุเฮอริเคน และพายุไซโคลน

พายุทอร์นาโด
เป็นพายุหมุนที่มีความรุนแรงที่สุดและอันตรายมากที่สุด ในบรรดาพายุหมุนทั้งหลาย โดยลมพัดรอบศูนย์กลางอาจมีความเร็วถึง 800 กม./ชม. และมีลักษณะเด่นชัดคือ เป็นพายุที่ก่อตัวจากก้อนเมฆ และย้อยลงมาบนผืนดินในลักษณะเป็นกรวยเกลียว ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 – 500 เมตร แม้ว่าพายุชนิดนี้จะมีอายุไม่นานคือ เฉลี่ยประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง แต่มีอำนาจการทำลายสูง สามารถกวาดยกบ้านเรือน รถยนต์พายุนี้ส่วนใหญ่จะเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา

พายุฟ้าคะนอง
เป็นพายุที่เกิดจากเมฆฝนฟ้าคะนอง สามารถเกิดได้ในทุกบริเวณที่มีอากาศร้อน และมีความชื้นมากพอสมควร จึงเป็นลักษณะสำคัญของอากาศเขตร้อน โดยมากมักจะมีทั้ง ลมแรง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฝนหนักเกิดขึ้นพร้อมกัน ความแรงของลมสามารถทำลายบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้างและต้นไม้เสียหายได้

ระดับความรุนแรงของพายุก็จะมีชื่อเรียกที่ต่างกัน อาทิเช่น ในเขตฝั่งตะวักตกของมหาสมุทรแปซิฟิกทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพายุที่มีความเร็วลมต่ำสุดจะเรียกว่าพายุดีเปรสชั่น

ซึ่งมีความเร็วลมน้อยกว่า63กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เมื่อความเร็วลมเพิ่มขึ้นเป็น 63 – 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็จะเปลี่ยนเป็นพายุโซนร้อน และเมื่อความเร็วเพิ่มขึ้นมากกว่า 119 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้ก็จะกลายเป็นพายุใต้ฝุ่น ซึ่งก็มีความรุนแรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด โดยพายุใต้ฝุ่นชนิดที่ 1 จะมีความเร็วลมอยู่ที่ 119-153 ชนิดที่ 2 จะมีความเร็วลมอยู่ที่ 154-177 ชนิดที่ 3 จะมีความเร็วลมอยู่ที่ 178-210 ชนิดที่ 4 จะมีความเร็วลมอยู่ที่ 211-250 และถ้ามีความเร็วลมมากว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็จะเรียกว่า ซูเปอร์ใต้ฝุ่น(Super Typhoon)
พายุ:การตั้งชื่อ
นางกรรณิการ์ ปุรพรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือกล่าวถึงการตั้งชื่อของพายุว่า การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ในฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยนั้น เป็นหน้าที่ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) ซึ่งเมื่อมีพายุหมุนที่มีความเร็วสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 นอต หรือ ประมาณ 62 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ ซึ่งรายชื่อของพายุในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ เรื่อยมาจนถึงทะเลจีนใต้ จะแบ่งไว้เป็นห้ากลุ่ม (คอลัมน์) เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม2543 ดังนั้น เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางมากกว่า 62 กิโลเมตร ต่อชั่วโมงเกิดขึ้นเป็นตัวแรกของปี พายุนั้นก็จะถูกตั้งชื่อตามรายชื่อที่1ในคอลัมน์ที่1ซึ่งมีชื่อว่าDamrey(ดอมเรย์)
ซึ่งในแต่ละคอลัมน์จะมีรายชื่อพายุที่ตั้งไว้คอลัมน์ละ 28ชื่อ ดังนั้น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นใหม่ที่ความเร็วลมตามกำหนดที่จะสามารถตั้งชื่อได้ พายุที่เกิดขึ้นใหม่นั้นก็จะใช้ชื่อตัวถัดมา ไล่เรื่อยลงมาจนหมดคอลัมน์ที่ 1 ในชื่อที่ 28 แล้วจึงขึ้นต้นใหม่ที่ชื่อที่ 1 ในคอลัมน์ที่ 2 เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงคอลัมน์ที่ 5 และเมื่อหมดคอลัมน์ที่ 5 ซึ่งชื่อสุดท้ายของคอลัมน์ที่ 5 คือ Saola (โซล่า) ก็จะวกกลับมาใช้ชื่อที่ 1 ของคอลัมน์ที่ 1 ใหม่ คือ Damrey (ดอมเรย์ ) เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนด พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า 'Longwang (หลงหวาง)' เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ 'Trami (ทรามี)' จะใช้ชื่อ 'Kongrey (กองเรย์)'

มูลเหตุที่มาของการตั้งชื่อพายุ มาจากการที่นักเดินเรือออกทะเลคิดถึงลูกคิดถึงเมียและลูก จึงตั้งชื่อพายุที่ตนเองประสบในท้องทะเล ตามชื่อเมียและลูก เดิมชื่อพายุจึงมีแต่ชื่อผู้หญิง ต่อมากลุ่มสิทธิบุรุษจึงมีการเรียกร้องให้ตั้งชื่อพายุเป็นชื่อผู้ชายบ้าง ภายหลังองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกจึงให้ตั้งชื่อพายุเป็นภาษาท้องถิ่นที่ให้กำเนิดพายุนั้นๆ ด้วย อาทิเช่น Damrey (ดอมเรย์) เป็นภาษาท้องถิ่นของประเทศกัมพูชา แปลว่าช้าง
ส่วนเกณฑ์การตั้งชื่อพายุในประเทศไทยนั้นไม่มีหลักแน่นอน ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการที่จะเลือกใช้ที่เห็นว่าเหมาะสม และเมื่อที่ประชุมเห็นพร้อมจึงส่งชื่อต่อไปยังที่ประชุมโลก อย่างไรก็ตามหลักการตั้งชื่อพายุแบบไทยก็อิงอยู่กับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมไทยเป็นพื้นฐาน ประเทศไทยอุดมไปด้วยศิลปวัฒนธรรม มีประเพณี ตำนาน นิทาน วรรณคดีมากมาย สิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุดิบที่นำมาตั้งชื่อ ดังรายชื่อพายุที่เกิดในไทย เช่น วิภา, นิดา เป็นชื่อสตรีในประเทศไทย รามสูร เป็นชื่อยักษ์ในเทพนิยายไทย เมขลา เป็นชื่อเทพธิดาในเทพนิยายไทย หนุมาน เป็นชื่อหัวหน้าลิงในวรรณคดีไทย ชบา, กุหลาบ มาจากชื่อดอกไม้ ทุเรียน, ขนุน มาจากชื่อผลไม้ และพระพิรุณ เป็นชื่อเทพเจ้าแห่งฝนตามคติความเชื่อดั้งเดิม เป็นต้น
ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แต่สามารถบรรเทาความรุนแรงได้ด้วยการเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ ทั้งประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดเหตุ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการจัดทำแผนระยะยาวในการแก้ไขผลกระทบอย่างจริงจัง และที่สำคัญคือการไม่ทำลายธรรมชาติไปมากกว่านี้.

ตารางแสดงรายชื่อพายุ

I II III IV V

Damrey ดอมเรย Kong-rey กองเรย Nakri นากรี Krovanh กรอวาญ(กระวาน) Sarika สาริกา

Longwang หลงหวาง Yutu ยู่ทู่ Fengshen ฟงเฉิน Dujuan ตู้เจี้ยน Haima ไหหม่า

Kirogi ไคโรจิ Toraji โทราจิ Kalmaegi คัลเมจิ Maemi เมมิ Meari มิอะริ

Kai-tak ไคตั๊ก Man-yi มานหยี่ Fung-wong ฟองวอง Choi-wan ฉอยหวั่น Ma-on หมาง้อน

Tembin เทมบิง Usagi อุซางิ Kammuri คัมมุริ Koppu คอบปุ Tokageโทะคาเงะ

Bolaven โบลาเวน Pabuk ปาบึก Phanfone พันฝน Ketsana กิสนา(กฤษณา) Nock-tenนกเตน

Chanchu จันจู Wutip หวู่ติ๊บ Vongfong หว่องฟง Parma ป้าหม่า Muifa หมุ่ยฟ้า

Jelawat เจอลาวัต Sepat เซอปัต Rusa รูซา Melor เมอโลร์ Merbok เมอร์บุก

Ewiniar เอวิเนียร์ Fitow ฟิโทว์ Sinlaku ซินลากอ Nepartak เนพาร์ตัก Nanmadolนันมาดอล

Bilis บิลิส Danas ดานัส Hagupit ฮากุปิต Lupit ลูปีต Talas ตาลัส

Kaemi เกมี Nari นารี Changmi ชังมี Sudal ซูแดล Noru โนรู

Prapiroon พระพิรุณ Wipha วิภา Mekkhala เมขลา Nida นิดา Kulap กุหลาบ

Maria มาเรีย Francisco ฟรานซิสโก Higos ฮีโกส Omais โอไมส์ Roke โรคี

Saomai ซาวไม Lekima เลกีมา Bavi บาหวี่ Conson โกนเซิน Sonca เซินกา

Bopha โบพา Krosa กรอซา Maysak ไม้สัก Chanthu จันทู Nesat เนสาด

Wukong หวู่คง Haiyan ไห่เยี่ยน Haishen ไห่เฉิน Dianmu เตี้ยนหมู่ Haitang ไห่ถาง

Sonamu โซนามุ Podul โพดอล Pongsona พงโซนา Mindulle มินดอนเล Nalgae นาลแก

Shanshan ซานซาน Lingling เหล่งเหลง Yanyan ยันยัน Tingting เถ่งเถง Banyan บันยัน

Yagi ยางิ Kajiki คะจิกิ Kujira คุจิระ Kompasu คอมปาซุ Washi วาชิ

Xangsane ซ้างสาน Faxai ฟ้าใส Chan-hom จันหอม Namtheun น้ำเทิน Matsa มัดสา

Bebinca เบบินคา Vamei ฮัวเหม่ย Linfa หลิ่นฟ้า Malou หม่าโหล Sanvu ซันหวู่

Rumbia รุมเบีย Tapah ตาปาห์ Nangka นังกา Meranti เมอรันตี Mawar มาวาร์

Soulik ซูลิก Mitag มิแทก Soudelor เซาเดโลร์ Rananim รานานิม Guchol กูโชล

Cimaron ซิมารอน Hagibis ฮากิบิส Imbudo อิมบุโด Malakas มาลากัส Talim ตาลิม

Chebi เชบี Noguri โนกูรี Koni โคนี Megi เมกี Nabi นาบี

Durian ทุเรียน Rammasun รามสูร Morakot มรกต Chaba ชบา Khanun ขนุน

Utor อูตอร์ Chataan ชาทาอาน Etau เอตาว Aere แอรี Vicente วีเซนเต

Trami จ่ามี Halong หะลอง Vamco หว่ามก๋อ Songda ซงด่า Saola ซาวลา



หมายเหตุ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2545 คำสะกดและความหมายตาม ราชบัณฑิตยสถาน



ชื่อพายุในประเทศต่าง ๆ



กัมพูชา ดอมเรย์ กองเรย์ นากรี กรอวาญ สาริกา โบพา กรอซา ไมสัก จันทู เนสาด


จีน หลงหวาง ยูทู ฟงเฉิน ตู้เจี้ยน ไหหม่า หวู่คง ไห่เยี่ยน ไห่เฉิน เตี้ยมู่ ไห่ถัง


เกาหลีเหนือ ไคโรจิ โทราจิ เคาเมจิ เมมิ มิอะริ โซนามุ โพดอล พงโซนา มิดอนเล นอเก


ฮ่องกง ไคตั๊ก มานยี่ ฟองวอง ฉอยหวั่น มาง่อน ซานซาน แหล่งแหลง ยันยัน เทงเท๋ง บันหยัน


ญี่ปุ่น เทมบิน อุซางิ คุมมุริ ขอบปุ โทะคาเงะ ยางิ คะจิคิ คุจิระ คอมปาซึ วาชิ


มาเก๊า จันจู วิทิบ หวังฟง พาร์มา มุ้ยฝ่า เบบินก้า ฮัวเหม่ย หลินฝ่า หม่าเหลา ซันหวู่


มาเลเซีย เจอลาวัต เซอพัต รูซา มีเลอ เมอร์บุค รัมเบีย ทาปา นังก้า เมอรันติ มาวา


ไมโครนีเซีย เอวินตา ฟิโท ซินลากู เนพาทัค นันมาดอล ซูลิค มิแทค ซูเดโล รานานิม กูโชว


ฟิลิปปินส์ บิลิส ดานัส ฮากุปิด ลูปิด ทาลัส ซิมารอน ฮาจิบิส อิมบุโด มาลากัส ทาลิม


เกาหลีใต้ เกมี นารี ชังมี ซูดาล โนรู เชบี โนกูรี โกนี เมกี นาบี


สหรัฐฯ มาเรีย ฟรานซิสโก ฮีโกส โอเมส โรเค อูโท ชาทาน อีโท โคโด วีเซนเต้


เวียดนาม เซลไม เลคคีมา บาวี คอนซอน ซอนคา ทรามี ฮาลอง แวมโค ซองดา เซลลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น